Social addition โรคติดสื่อ สังคมออนไลน์

ปัจจุบันนั้น การสื่อสารออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า Social media นั้น ได้เข้ามาเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของชีวิตคนทุกคนบนโลกใบนี้ไปแล้ว เพราะด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และรวดเร็วจนทำให้โลกทั้งใบถูกเก็บข้อมูลข่าวสารไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอมือถือของคนทุกคน ซึ่งหากย้อนกลับไปสมัยก่อน เรื่องต่างๆ ไม่ได้ถูกแพร่กระจายหรือรับรู้เร็วเท่าสมัยนี้ เด็กๆ กว่าจะมีมือถือก็คงต้องรอเรียนจบมหาวิทยาลัยกันก่อน

แต่เดี๋ยวนี้เพียงแค่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สามก็มีมือถือเอาไว้ติดต่อผู้ปกครองด้วยการโทรหาหรือแชทหากันแล้วซึ่งมันก็เป็นข้อดีที่ทำให้การสื่อสาร หรือการรับรู้ข่าวสารนั้นเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และสะดวกขึ้น แต่ทุกอย่างที่มันมากเกินไป หรือไม่พอดี ข้อดีบ้างอย่างก็อาจจะกลายเป็นข้อเสียได้

เพราะในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตด้วยการก้มหน้าลงมองจอมือถือของตัวเอง จนไม่สนใจว่าคนรอบข้างหรือสิ่งรอบข้างจะเป็นอย่างไร ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าจากภาวะของการติดสื่อสังคมออนไลน์ และนอกจากโรคของภาวะซึมเศร้าแล้วนั้น อาจจะก่อไปถึงโรคเครียด วิตกกังวล และสมาธิสั้น ได้อีกด้วย

เนื่องจากการที่ต้องจดจ่ออยู่กับมือถือ หรือโซเชียลเป็นเวลานานๆนั้น จะทำให้มีเวลาในการพักผ่อนที่น้อยลง และเกิดการฝังตัวเองในโลกออนไลน์มากเกินไป จนทำให้ตัดขาดจากคนรอบข้าง และยึดติดโลกสมมติมากกว่าโลกของความเป็นจริง ซึ่งหากใครมีอาการเหล่านี้ควรจะต้องรีบถอยตัวเองจากโซเชียลกันออกมา

อยู่กับโซเชียลมากกว่าที่ตั้งใจไว้

ช่วงเวลาที่ไม่ได้เล่นโซเชียลจะเกิดอาการกระวนกระวายใจ

ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เลิกเล่นโซเชียลได้

คิดถึงโซเชียลอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม

เวลาเครียดมักจะใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือแก้เครียด

มีการโกหกหรือปิดบังคนรอบข้างเพื่อที่จะให้ได้เล่นโซเชียล

โซเชียลเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือเกิดปัญหากับคนใกล้ชิด ซึ่งลักษณะแบบนี้เรียกว่า ปล่อยให้โซเชียลเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากจนเกินไป 

ซึ่งอาการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นเป็นอาการบ่งบอกถึงการติดสื่อออนไลน์อย่างชัดเจน ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเกิดความห่างเหินต่อคนรอบข้าง และยิ่งถลำลึกก็อาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า หรือสมาธิสั้น ดังที่ได้เกริ่นมาข้างต้น ซึ่งวิธีที่จะสามารถช่วยให้หลุดจากอาการเหล่านี้ได้นั้น ควรจะต้องหาสิ่งจูงใจอย่างอื่นเช่นงานอดิเรก เป็นกิจกรรมที่ทำแทน หรือควรจะออกไปเล่นกีฬา เพื่อลดการเสพสื่อสังคมออนไลน์

 

สนับสนุนโดย  วิธีเล่นหวยรัฐบาล